สินค้าและบริการ

บูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump) หรือ ปั๊มน้ำเสริมแรงดัน

บูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump) หรือ ปั๊มน้ำเสริมแรงดัน คือ ระบบเพิ่มแรงดัน (แบบปิด) และรักษาระดับแรงดันน้ำในท่อ โดยใช้ถังแรงดันเป็นตัวช่วยทำให้แรงดันน้ำในระบบมีความสม่ำเสมอ โดยอาศัยการทำงานของ Pressure Switch ช่วยในการตัดต่อสั่งงาน (Start) และหยุดการทำงาน (Stop) บูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump) จะประกอบด้วยปั๊มน้ำ 2 ตัวขึ้นไป ทำงานแบบสลับและเสริมแรงดันอีกตัวหนึ่งเพื่อให้แรงดันตามความต้องการของการใช้งาน

ทรานเฟอร์ปั๊ม (Transfer Pump)

ทรานเฟอร์ปั๊ม (Transfer Pump) คือ ระบบการสูบน้ำจากต้นทางไปยังปลายทาง (แบบเปิด) หรือจากถังน้ำด้านล่างส่งไปที่ถังน้ำด้านบน และใช้หลักการแรงโน้มถ่วงเพื่อไปจ่ายในระบบ เหมาะสำหรับตึก, อาคารสูง โดยใช้ก้านอิเล็กโทรด, ลูกลอย (Float) หรือ Level Control เป็นต้น ในการควบคุมการทำงานนิยมใช้ปั๊ม 2 ตัว (Twin Pump) โดยมีฟังก์ชั่นสลับการทำงานของปั๊ม (Pump) เพื่อไม่ให้ปั๊มทำงานหนักจนเกินไป และฟังก์ชั่นเสริมปั๊มตัวที่ 2 เพื่อให้น้ำในถังด้านบนเพียงพอต่อการใช้งานในกรณีที่มีการใช้น้ำจำนวนมาก ๆ  และในกรณีมีปั๊มตัวใดตัวหนึ่งเสียก็สามารถใช้ปั๊มตัวที่เหลือทำงานแทนได้

     ซึ่งการควบคุมปั๊มน้ำแบบ Transfer Pump และการควบคุมปั๊มน้ำแบบ Booster Pump นิยมใช้งานอาคารสูง, อพาร์ทเม้นท์, คอนโดมิเนียม, โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยปกติอาคารที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 5 ชั้นขึ้นไป และในแต่ละชั้นมีจุดใช้น้ำจำนวนมากมักมีความจำเป็นที่ต้องใช้ชุดปั๊มน้ำเสริมแรงดัน (Booster Pump) ทั้ง 2 ชุดประกอบกัน โดยจะใช้ Transfer Pump ในการส่งหรือเติมน้ำขึ้นไปเก็บบนชั้นดาดฟ้าที่มีถังเก็บน้ำรองรับอยู่ จากนั้นก็ใช้  Booster Pump ในการกระจายน้ำสู่ห้องต่าง ๆ ภายในอาคาร น้ำที่ไปใช้ในอาคารจะมีความแรงของน้ำที่คงที่สม่ำเสมอ

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ

ปั๊มน้ำอัตโนมัติแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร

ปั๊มน้ำอัตโนมัตินั้นมีมากมายหลากหลายรูปแบบและหลากหลายแบรนด์ให้เลือก ซึ่งแต่ละแบรนด์ก็จะมีดีไซน์และเทคโนโลยีแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร รูปแบบที่ได้รับความนิยมมักจะเป็น 3 รูปแบบหลักนี้เสมอ ซึ่งก็คือปั๊มแรงดันอากาศ (ถังกลม) ปั๊มแรงดันคงที่ (ถังเหลี่ยม) และปั๊มอินเวอร์เตอร์

1. ปั๊มน้ำอัตโนมัติแรงดันอากาศ (ปั๊มถังกลม)
ข้อดี ให้แรงดันมาก น้ำพุ่งแรง ราคาถูก อะไหล่หาง่าย สามารถตั้งกลางแจ้งได้
ข้อเสีย อาจผุกร่อนได้ไว โดยเฉพาะบริเวณถังและข้อต่อ ทำให้เกิดการรั่วซึมได้ง่าย มีเสียงดังมากกว่าปั๊มแบบอื่น แรงดันน้ำไม่สม่ำเสมอ

2. ปั๊มน้ำอัตโนมัติแรงดันคงที่ (ปั๊มถังเหลี่ยม)
ข้อดี สามารถรักษาแรงดันน้ำให้เท่ากันได้ทุกก๊อก ทำงานเสียงเบา โอกาสที่จะผุกร่อนค่อนข้างต่ำหากเทียบกับถังกลม
ข้อเสีย แรงดันน้ำไม่แรงเท่าถังกลม มีราคาค่อนข้างสูง อะไหล่หายาก

3. ปั๊มน้ำอัตโนมัติแบบอินเวอร์เตอร์
ข้อดี แรงดันน้ำคงที่ สม่ำเสมอ เสียงเบา สามารถปรับแรงดันได้ ประหยัดไฟ
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างสูง อะไหล่หายาก และตอนซ่อมมักต้องส่งศูนย์เป็นหลัก

ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ท หรือ ปั๊มเจ็ท

การทำงานของปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ท หรือ ปั๊มเจ็ท
ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ท มีการทำงานหลักของปั๊ม คือ มอเตอร์ จะสร้างพลังงานให้กระแสน้ำ เกิดการไหล และเหวี่ยงให้ของเหลวเคลื่อนที่ตามทิศทางการหมุน โดยมีใบพัด และปลอก ควบคุมทิศทางการไหล ในปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ท ของเหลว จะเข้าไปในปลอก ตกลงบนใบพัดที่ตาของใบพัด หมุนวนตามแนวแกน และหมุนออกไปด้านนอก ในแนวรัศมีจนกว่าใบพัดจะเข้าสู่ส่วนกระจายของปลอก ในขณะที่ผ่านใบพัดนั้น ของเหลว จะได้รับทั้งความเร็ว และความดันไปพร้อม ๆ กัน

ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ท (Centrifugal pump) เป็นปั๊มชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยม ใช้กันมากที่สุด เป็นปั๊มที่ใช้ใบพัดหมุน สร้างแรงเหวี่ยงให้น้ำ หรือของเหลว เกิดแรงเหวี่ยง และไหล นิยมใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม, เทศบาล, โรงน้ำทิ้ง และน้ำเสีย, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงไฟฟ้าปิโตรเลียม, เหมืองแร่, โรงเคมี และอื่น ๆ อีกมากมาย

ทำไมถึงเรียกปั๊มหอยโข่ง ? ปั๊มน้ำชนิดนี้ ที่เรียกว่าปั๊มหอยโข่ง เพราะว่า ระบบการเหวี่ยงน้ำรูปร่างเหมือนหอยโข่ง โดยทั่วไปปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ทมีข้อดี คือ มีเครื่องที่ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา บำรุงรักษาได้ง่าย การสูบน้ำของปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ท มักนิยมนำไปใช้กับงานที่ต้องการปริมาณการไหลของน้ำระดับ ปานกลางถึงมาก

ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ทนั้น สามารถรับรองของเหลวได้ในปริมาณมาก และมีอัตราการไหลที่สูง โดยทั่วไปปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ท ถูกออกแบบมาใช้งานสำหรับของเหลวที่มีความหนืดต่ำ เช่น น้ำ หรือน้ำมัน หากของเหลว มีความหนืดที่มากกว่า 10 หรือ 20 w จะต้องอาศัยแรงม้าที่เพิ่มขึ้น

ประเภทของปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ท
แบ่งตามแนวใช้งานของปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ท
ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ทแนวตั้ง ปั๊มประเภทนี้ ปลอกรูปก้นหอย จะแยกออกตามแนวแกน และเส้นแยกที่ปลอกปั๊ม แยกอยู่ที่เส้นกึ่งกลางของเพลา โดยทั่วไป จะติดตั้งในแนวนอน เนื่องจากสะดวกในการติดตั้ง และบำรุงรักษา
ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ทแนวรัศมี ปั๊มประเภทนี้ เคสปั๊มแยก จะเป็นแนวรัศมี การแยกปลอกรูปก้นหอย จะตั้งฉากกับเส้นกึ่งกลางเพลา

แบ่งตามใบพัดของปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ท
ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ทใบพัดเดี่ยว ปั๊มชนิดนี้ มีใบพัดดูดเดียว ช่วยให้ของเหลวไหลเข้าสู่ใบมีดผ่านด้านเดียวเท่านั้น มีการออกแบบที่เรียบง่าย และเนื่องจากการไหลเข้ามาที่ด้านใดด้านหนึ่งของใบพัดนี้เอง ทำให้ใบพัดมีความไม่สมดุลของแรงขับตามแนวแกนที่สูงขึ้น
ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ทใบพัดคู่ ปั๊มชนิดนี้ มาพร้อมกับใบพัดดูดคู่ ช่วยให้ของเหลวไหลเข้าจากทั้ง 2 ด้านของใบพัด และมี NPSHR ต่ำกว่าใบพัดดูดเดี่ยว ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ทชนิด Split-Case มักพบใบพัดดูดคู่มากที่สุด

แบ่งตามรูปก้นหอย
รูปก้นหอยช่องเดี่ยว ปั๊มชนิดนี้ มักใช้ในปั๊มความจุต่ำ มีขนาดเล็ก ซึ่งการออกแบบรูปก้นหอย 2 อัน ไม่สามารถใช้งานได้จริง เนื่องจากทางเดินรูปก้นหอย มีขนาดค่อนข้างเล็ก ปั๊มที่มีการออกแบบเป็นรูปก้นหอยเดี่ยว จะรับแรงในแนวรัศมีได้สูงกว่า
รูปก้นหอยช่องคู่ ปั๊มชนิดนี้ มีปริมาตร 2 ส่วน ซึ่งอยู่ห่างกัน 180 องศา ส่งผลให้การถ่วงรัศมี มีความสมดุล ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ทส่วนใหญ่ จะออกแบบเป็นรูปก้นหอยคู่

แบ่งตามการวางแนวเพลา
แนวเพลานอน เป็นปั๊มที่มีเพลาอยู่ในระนาบแนวนอน ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากความสะดวกในการซ่อมบำรุง และการบำรุงรักษา
แนวเพลาตั้ง ปั๊มหอยโข่ง หรือ ปั๊มเจ็ทแนวตั้ง มีเพลาอยู่ในระนาบแนวตั้ง ใช้การกำหนดค่าการรองรับเพลา และแบริ่งที่เป็นเอกลักษณ์

ปั๊มจุ่ม หรือ ปั๊มแช่ หรือ ปั๊มไดโว่

“ปั๊มจุ่ม” หรือ “ปั๊มแช่” หรือ “ไดโว่” จะเรียกแบบไหนมันก็คืออย่างเดียวกัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานโดยการจุ่มแช่ลงไปในน้ำเพื่อทำการสูบขึ้นมา นิยมใช้กับงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง ดูดน้ำเสีย น้ำโคลน หรือบ้านที่มีบ่อปลา บ่อน้ำ บ่อพักน้ำ ฯลฯ โดยปั๊มจุ่มมีขนาดกะทัดรัด และมีน้ำหนักเบาเพื่อการใช้งานที่สะดวก เหมาะสำหรับสูบน้ำจากบ่อที่ไม่ลึกมาก และไม่เหมาะกับการสูบน้ำจากบ่อใต้ดินที่ลึกเหมือนกับปั๊มบาดาลนั่นเอง
ประเภทของปั๊มจุ่มแบ่งตามการใช้งาน
ปั๊มจุ่มน้ำเสีย หรือ ปั๊มจุ่มน้ำบ่อ เป็นปั๊มใช้สำหรับสูบน้ำดี ใช้กับน้ำที่ไม่มีตะกอน เศษขยะ หรือมีตะกอนขนาดเล็กมาก ซึ่งปั๊มจุ่มน้ำดีจะมีช่องตะแกรงถี่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมรวมถึงสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันในช่องใบพัด

ปั๊มจุ่มน้ำโคลนและตะกอน เป็นปั๊มที่สามารถใช้ดูดน้ำโคลน หรือน้ำที่มีตะกอนหรือเศษขยะได้ เพราะปั๊มจุ่มน้ำเสียจะมีช่องตะแกรงเป็นรูขนาดใหญ่ และมีฐานของปั๊มจะสูงกว่าปั๊มจุ่มน้ำสะอาด ทำให้ดูดสิ่งสกปรกต่าง ๆ ได้ง่าย อีกทั้งใบพัดของปั๊มจุ่มน้ำเสียยังช่วยย่อยเศษขยะให้เป็นชิ้นจิ๋ว ลดการเกิดการอุดตันได้อีกด้วย

โดยวิธีการเลือกปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ หรือไดโว่ให้ดูจากชนิดตะกอน เพื่อเลือกประเภทของใบพัดที่เหมาะสมกับประเภทของงาน ซึ่งปั๊มจุ่มจะทำงานได้ด้วยการหมุนของใบพัดในการส่งแรงดันไปตามท่อน้ำ เพื่อให้จ่ายน้ำได้มากในพื้นที่จำกัด โดยสินค้าปั๊มจุ่มตามท้องตลาดจะมีให้ผู้ใช้งานได้เลือกอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้
ปั๊มจุ่มแบบมีลูกลอย เมื่อจุ่มลงน้ำ ลูกลอยจะลอยขึ้น และเมื่อดูดน้ำหมด ลูกลอยก็จะจมลง เรียกได้ว่าเป็นปั๊มน้ำที่สามารถตัดการทำงานได้อัตโนมัติ สามารถสร้างแรงดันน้ำในปริมาณมาก ทำให้ปล่อยน้ำแรง
ปั๊มจุ่มแบบไม่มีลูกลอย เป็นปั๊มที่ต้องเปิด-ปิดสวิตช์เอง ใช้งานง่าย เพียงเสียบปลั๊กทำงาน ส่วนแรงดันของน้ำจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและขนาดท่อหน้าตัดน้ำด้วย
ส่วนประกอบหลักของปั๊มจุ่ม
เรือนปั๊ม เป็นส่วนที่ห่อหุ้มมอเตอร์ และเพลาที่อยู่ด้านในเอาไว้
มอเตอร์ จะอยู่ในอุปกรณ์ป้องกันน้ำ และมีสภาพเหมือนฉนวนกันน้ำ
เพลา เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในปั๊มทุกประเภท ถูกออกแบบให้มีความแข็งแรงสูงเพื่อส่งกำลังในภาวะที่มอเตอร์หมุนเต็มที่
ทางน้ำเข้า-ออก เป็นทางที่น้ำจะเข้ามาในตัวปั๊ม และเป็นทางที่น้ำจะถูกส่งออกไป
ใบพัด ทำหน้าที่สร้างแรงเหวี่ยงและส่งน้ำออกไป มีแกนใบพัดโผล่ออกมาเพื่อใช้ต่อเชื่อมกับส่วนมอเตอร์ ควรเลือกใบพัดให้เหมาะสมกับรูปแบบการนำไปใช้งาน
ข้อดีและประโยชน์ของปั๊มจุ่ม
ปั๊มจุ่มไม่ต้องติดตั้งกับตู้ควบคุม ใช้งานง่ายมาก เพียงแค่จุ่มปั๊มลงไปในน้ำที่ต้องการจะสูบก็สามารถเปิดใช้งานได้แล้ว
ปั๊มจุ่มสามารถใช้ดูดน้ำเสีย และน้ำสกปรกที่มีเศษขยะหรือตะกอนได้ รวมถึงของเหลวที่มีความเข้มข้นอย่างพวกน้ำมัน โคลน ก๊าซ
ปั๊มจุ่มสามารถใช้สูบระบายน้ำท่วมขัง ทั้งการทำเหมืองแร่ หรือน้ำท่วมตามชั้นใต้ดิน
ปั๊มจุ่มเหมาะกับการสูบและส่งของเหลวในภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นส่งน้ำมัน สูบสารเคมี ทำสระน้ำ บ่อปลา เป็นต้น
ปั๊มจุ่มสามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสีย หรือบ่อเกรอะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล

ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาลเป็นปั๊มน้ำที่เกษตรกรรู้จัก และนิยมใช้งานกัน ปั๊มน้ำบาดาล (Submersible Pump) หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “ปั๊มซับเมิร์ส” เป็นตัวช่วยสูบน้ำขึ้นมาจากบ่อบาดาลที่มีความลึกมากให้เราได้ใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งชาวเมืองอาจจะคุ้นเคยกับน้ำประปา แต่ก็ต้องบอกเลยว่าในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ “น้ำบาดาล” ถือเป็นแหล่งน้ำที่มีประโยชน์และสำคัญมากเลยทีเดียว แน่นอนว่าการจะนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ไม่ใช่เรื่องง่าย ปั๊มบาดาลก็เลยจะเข้ามาช่วยให้เรื่องนี้ง่ายขึ้น ดังนั้นปั๊ม ซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล ต้องมีโครงสร้างแน่นหนา ผลิตจากวัสดุที่แข็งแรงสูงเช่นสเตนเลส เพื่อป้องกันความเสียหายจากการใช้งาน เนื่องจากตัวปั๊มจะต้องแช่อยู่ในบ่อน้ำตลอดการใช้งานนั่นเอง
ปั๊มบาดาล คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร
ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล เป็นเครื่องสูบน้ำชนิดหย่อนลงไปในบ่อในแนวดิ่ง รูปร่างของมันจึงเป็นทรงกระบอกยาว
ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล สามารถหย่อนลงไปในบ่อบาดาลลึกได้ โดยปากบ่อจะต้องกว้าง 3-4 นิ้วขึ้นไป
ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล จะสูบและส่งน้ำขึ้นตามท่อมาบนปากบ่อ สามารถสูบน้ำจากบ่อลึกได้มากกว่า 100 เมตร
ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล มีโครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน สามารถป้องกันความเสียหายจากการใช้งาน และลดความเสี่ยงในการรั่วซึมได้ โดยมาพร้อมมาตรฐานจาก International Protection Standard ระดับ IP68 ของปั๊มบาดาลทอร์ค ที่มีความสามารถป้องกันฝุ่นได้อย่างสมบูรณ์ และป้องกันการแทรกซึมของน้ำจากการแช่ตัวอุปกรณ์ในน้ำได้แบบถาวร
ปั๊มบาดาล มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่
ใบพัด : ทำหน้าที่ดูดน้ำ-หมุนส่งน้ำขึ้นไปด้านบน
มอเตอร์ : เป็นเครื่องยนต์ที่ช่วยให้ใบพัดหมุน
ปั๊มบาดาลเหมาะกับงานเกษตร ชลประทาน งานอุตสาหกรรม และระบบน้ำในครัวเรือนสำหรับอุปโภคบริโภค แต่จะต้องใช้กับน้ำสะอาดเท่านั้น
ปั๊มบาดาล หรือ ปั๊มซับเมอร์ส เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่น้ำประปาเข้าไม่ถึง หรือมีความต้องการการใช้น้ำมากกว่าที่ระบบประปาจะสามารถจ่ายน้ำให้ได้
การทำงานของ ปั๊มบาดาล หรือ ปั๊มซับเมอร์ส อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า ปั๊มบาดาลมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนใบพัด และส่วนมอเตอร์ ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ช่วยให้ปั๊มบาดาลสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
ใบพัดปั๊มบาดาล : จะอยู่ที่ด้านบนของตัวปั๊มบาดาล ประกอบไปด้วยทางเข้า-ออกน้ำ และใบพัดที่อยู่ด้านใน ซึ่งจำนวนของใบพัดขึ้นอยู่กับขนาด และความลึกของบ่อน้ำที่จะสูบ ยิ่งมีใบพัดมากเท่าไหร่ ปั๊มน้ำก็สามารถส่งน้ำได้สูงยิ่งขึ้น โดยเมื่อใบพัดหมุนจะมีแรงดูดน้ำเข้ามาในตัวปั๊ม และมีแรงดันส่งน้ำผ่านใบพัดออกไปยังทางน้ำออก
มอเตอร์ปั๊มบาดาล : จะอยู่ด้านล่างของตัวปั๊มบาดาล มอเตอร์จะมีเพลาอยู่ด้านใน และสามารถป้องกันน้ำ เศษหิน ดิน ทรายต่าง ๆ เข้าไปทำให้มอเตอร์พังได้ เนื่องจากมีตัวหุ้มด้วยปลอกมอเตอร์ที่มีความทนทานสูง อีกทั้งยังมีน้ำมันหล่อเย็นช่วยป้องกันไม่ให้มอเตอร์มีอุณหภูมิสูงเกินไปขณะทำงาน แถมยังช่วยยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์อีกด้วย
การติดตั้งปั๊มบาดาล
ติดต่อหาช่างเจาะน้ำบาดาลในพื้นที่ – ก่อนติดตั้งปั๊มบาดาล เราจำเป็นต้องตกลงสัญญาจ้างงานขุดเจาะให้เรียบร้อย โดยช่างจะขออนุญาตเข้ามาในพื้นที่จริงเพื่อสำรวจ ซึ่งจะเช็กวัตถุประสงค์ในการติดตั้ง เช่น เอาน้ำไปใช้ทำอะไร ใช้น้ำเยอะแค่ไหนต่อวัน ระยะทางของตัวบ่อไปยังจุดใช้น้ำอยู่ห่างกันแค่ไหน เพื่อที่ช่างจะได้หาอุปกรณ์ที่มีค่าใช้งานเหมาะสมกับความต้องการ รวมถึงขนาดและความลึกของตัวบ่อบาดาลที่ต้องขุดลงไปให้เหมาะสม
ยื่นคำขอใบอนุญาต – หลังจากเคลียร์กับช่างเรียบร้อย ลูกค้าที่เป็นเจ้าของที่ดินต้องไปยื่นคำขอใบอนุญาตในการเจาะและใช้น้ำบาดาล กับกรมน้ำบาดาลที่อยู่เขตพื้นที่ โดยเตรียมเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ สำเนาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โฉนดที่ดิน สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน
เจ้าหน้าที่เข้าสำรวจ – หลังจากที่ยื่นคำขออนุญาตกับทางกรมฯ ในพื้นที่แล้ว เจ้าหน้าที่จะเข้ามาสำรวจพื้นที่ แลล้วก็จะมีการรวบรวมเอกสาร และข้อมูลเพื่อดูว่าจะให้ขุดเจาะได้ไหม โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 2-3 วัน สำหรับบ่อบาดาลที่เล็กกว่า 4 นิ้ว และใช้เวลาพิจารณา 14 วัน ถึง 1 เดือน สำหรับบ่อขนาด 4 นิ้วขึ้นไป
ช่างลงพื้นที่ขุดเจาะ – เมื่อได้รับการอนุญาตแล้ว ช่างขุดเจาะก็สามารถเข้าขุดเจาะน้ำบาดาลได้เลย ซึ่งระหว่างทำงานช่างจะต้องเก็บตัวอย่างชั้นดินและหินทุก ๆ ระดับความลึก 1 เมตร เพื่อทำ Report ส่งให้กับกรมน้ำบาดาล เพื่อเป็นข้อมูลด้านธรณีวิทยาของพื้นที่ และเพื่อป้องกันรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
เริ่มติดตั้ง ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล – เมื่อขุดเจาะเสร็จแล้ว ช่างจะติดตั้ง ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล ลงในบ่อบาดาล เพื่อสูบน้ำทดสอบว่าในบ่อนี้มีปริมาณน้ำเท่าไหร่ ได้ปริมาณตามที่ต้องการของเจ้าของที่หรือไม่ ซึ่งจะมีกฎเกณฑ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนี้
หากสูบน้ำไว้ใช้สำหรับการทำเกษตร อุตสาหกรรมทั่วไป : ไม่จำเป็นต้องส่งตรวจตัวอย่างน้ำก็ได้ คุณสามารถใช้น้ำได้เลย
ตรวจสอบคุณภาพน้ำ – สำหรับเงื่อนไขแรกที่ต้องการใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค เมื่อได้รับผลตรวจจากกรมบาดาลแล้ว ก่อนนำไปใช้ผลิตน้ำดื่ม หรือใช้อุปโภคบริโภค จะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน เพื่อให้ได้น้ำที่บริสุทธิ์ ไม่มีสารพิษเจือปน และไม่เป็นกรดด่างจนเกินไป แค่นี้คุณก็จะได้บ่อน้ำบาดาลที่มีคุณภาพมาตรฐาน และปลอดภัยไว้ใช้งานแล้ว

ปั๊มน้ำ RO 

ปั๊มน้ำ RO หรือ ปั๊มผลิตน้ำ RO เป็น Booster Pump Ro ทำหน้าที่ส่งน้ำเข้าไส้กรอง RO Membrane สามารถให้อัตราการไหลน้ำได้ดี ตามขนาดของ Membrane 75 GPD,150 GPD,300 GPD
ปั๊มน้ำสามารถใช้กับชุดไส้กรอง RO 75 GPD แรงดันสูง นอกจากนี้ยังมี
ปั๊มน้ำ RO ที่ใช้กับชุดไส้กรอง RO 150 GPD แรงดันสูงสุด 0.8-1.0 Mpa
ปั๊มน้ำ RO ที่ใช้กับชุดไส้กรอง RO 300 GPD แรงดันสูง
ปั๊มน้ำ RO ที่ใช้กับชุดไส้กรอง RO 400 GPD แรงดันสูง
ปั๊มน้ำ RO ที่ใช้กับชุดไส้กรอง RO 650 GPD แรงดันสูง
เรามี ปั๊มน้ำ RO ครบชุดพร้อม Adepter 220V แปลงเป็น 36 VDC