ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล.
ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล
-
ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล 0.75 แรง BIG BEAR รุ่น 3DDP2-157,840.00 ฿
11,200.00 ฿ (-30%) -
ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล 1.25 แรง BIG BEAR รุ่น 4DDP7-89,660.00 ฿
13,800.00 ฿ (-30%) -
ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล 1.5 แรง BIG BEAR รุ่น 4DDP10-810,080.00 ฿
14,400.00 ฿ (-30%) -
ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล 1.25 แรง BIG BEAR รุ่น 3DDP2-2710,080.00 ฿
14,400.00 ฿ (-30%) -
ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล 1.75 แรง BIG BEAR รุ่น 4DDP7-1110,290.00 ฿
14,700.00 ฿ (-30%) -
ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล 1.5 แรง BIG BEAR รุ่น 3DDP2-3311,060.00 ฿
15,800.00 ฿ (-30%) -
ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล 2 แรง BIG BEAR รุ่น 4DDP12-812,390.00 ฿
17,700.00 ฿ (-30%) -
ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล 2 แรง BIG BEAR รุ่น 4DDP7-1312,670.00 ฿
18,100.00 ฿ (-30%)
ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล
เป็นปั๊มน้ำที่เกษตรกรรู้จัก และนิยมใช้งานกัน ปั๊มน้ำบาดาล (Submersible Pump) หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “ปั๊มซับเมิร์ส” เป็นตัวช่วยสูบน้ำขึ้นมาจากบ่อบาดาลที่มีความลึกมากให้เราได้ใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งชาวเมืองอาจจะคุ้นเคยกับน้ำประปา แต่ก็ต้องบอกเลยว่าในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ “น้ำบาดาล” ถือเป็นแหล่งน้ำที่มีประโยชน์และสำคัญมากเลยทีเดียว แน่นอนว่าการจะนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ไม่ใช่เรื่องง่าย ปั๊มบาดาลก็เลยจะเข้ามาช่วยให้เรื่องนี้ง่ายขึ้น ดังนั้นปั๊ม ซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล ต้องมีโครงสร้างแน่นหนา ผลิตจากวัสดุที่แข็งแรงสูงเช่นสเตนเลส เพื่อป้องกันความเสียหายจากการใช้งาน เนื่องจากตัวปั๊มจะต้องแช่อยู่ในบ่อน้ำตลอดการใช้งานนั่นเอง
ปั๊มบาดาล คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร
ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล เป็นเครื่องสูบน้ำชนิดหย่อนลงไปในบ่อในแนวดิ่ง รูปร่างของมันจึงเป็นทรงกระบอกยาว
ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล สามารถหย่อนลงไปในบ่อบาดาลลึกได้ โดยปากบ่อจะต้องกว้าง 3-4 นิ้วขึ้นไป
ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล จะสูบและส่งน้ำขึ้นตามท่อมาบนปากบ่อ สามารถสูบน้ำจากบ่อลึกได้มากกว่า 100 เมตร
ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล มีโครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน สามารถป้องกันความเสียหายจากการใช้งาน และลดความเสี่ยงในการรั่วซึมได้ โดยมาพร้อมมาตรฐานจาก International Protection Standard ระดับ IP68 ของปั๊มบาดาลทอร์ค ที่มีความสามารถป้องกันฝุ่นได้อย่างสมบูรณ์ และป้องกันการแทรกซึมของน้ำจากการแช่ตัวอุปกรณ์ในน้ำได้แบบถาวร
ปั๊มบาดาล มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่
ใบพัด : ทำหน้าที่ดูดน้ำ-หมุนส่งน้ำขึ้นไปด้านบน
มอเตอร์ : เป็นเครื่องยนต์ที่ช่วยให้ใบพัดหมุน
ปั๊มบาดาลเหมาะกับงานเกษตร ชลประทาน งานอุตสาหกรรม และระบบน้ำในครัวเรือนสำหรับอุปโภคบริโภค แต่จะต้องใช้กับน้ำสะอาดเท่านั้น
ปั๊มบาดาล หรือ ปั๊มซับเมอร์ส เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่น้ำประปาเข้าไม่ถึง หรือมีความต้องการการใช้น้ำมากกว่าที่ระบบประปาจะสามารถจ่ายน้ำให้ได้
การทำงานของ ปั๊มบาดาล หรือ ปั๊มซับเมอร์ส อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า ปั๊มบาดาลมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนใบพัด และส่วนมอเตอร์ ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ช่วยให้ปั๊มบาดาลสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
ใบพัดปั๊มบาดาล : จะอยู่ที่ด้านบนของตัวปั๊มบาดาล ประกอบไปด้วยทางเข้า-ออกน้ำ และใบพัดที่อยู่ด้านใน ซึ่งจำนวนของใบพัดขึ้นอยู่กับขนาด และความลึกของบ่อน้ำที่จะสูบ ยิ่งมีใบพัดมากเท่าไหร่ ปั๊มน้ำก็สามารถส่งน้ำได้สูงยิ่งขึ้น โดยเมื่อใบพัดหมุนจะมีแรงดูดน้ำเข้ามาในตัวปั๊ม และมีแรงดันส่งน้ำผ่านใบพัดออกไปยังทางน้ำออก
มอเตอร์ปั๊มบาดาล : จะอยู่ด้านล่างของตัวปั๊มบาดาล มอเตอร์จะมีเพลาอยู่ด้านใน และสามารถป้องกันน้ำ เศษหิน ดิน ทรายต่าง ๆ เข้าไปทำให้มอเตอร์พังได้ เนื่องจากมีตัวหุ้มด้วยปลอกมอเตอร์ที่มีความทนทานสูง อีกทั้งยังมีน้ำมันหล่อเย็นช่วยป้องกันไม่ให้มอเตอร์มีอุณหภูมิสูงเกินไปขณะทำงาน แถมยังช่วยยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์อีกด้วย
การติดตั้งปั๊มบาดาลฉบับช่างตัวจริง
ติดต่อหาช่างเจาะน้ำบาดาลในพื้นที่ – ก่อนติดตั้งปั๊มบาดาล เราจำเป็นต้องตกลงสัญญาจ้างงานขุดเจาะให้เรียบร้อย โดยช่างจะขออนุญาตเข้ามาในพื้นที่จริงเพื่อสำรวจ ซึ่งจะเช็กวัตถุประสงค์ในการติดตั้ง เช่น เอาน้ำไปใช้ทำอะไร ใช้น้ำเยอะแค่ไหนต่อวัน ระยะทางของตัวบ่อไปยังจุดใช้น้ำอยู่ห่างกันแค่ไหน เพื่อที่ช่างจะได้หาอุปกรณ์ที่มีค่าใช้งานเหมาะสมกับความต้องการ รวมถึงขนาดและความลึกของตัวบ่อบาดาลที่ต้องขุดลงไปให้เหมาะสม
ยื่นคำขอใบอนุญาต – หลังจากเคลียร์กับช่างเรียบร้อย ลูกค้าที่เป็นเจ้าของที่ดินต้องไปยื่นคำขอใบอนุญาตในการเจาะและใช้น้ำบาดาล กับกรมน้ำบาดาลที่อยู่เขตพื้นที่ โดยเตรียมเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ สำเนาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โฉนดที่ดิน สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน
เจ้าหน้าที่เข้าสำรวจ – หลังจากที่ยื่นคำขออนุญาตกับทางกรมฯ ในพื้นที่แล้ว เจ้าหน้าที่จะเข้ามาสำรวจพื้นที่ แลล้วก็จะมีการรวบรวมเอกสาร และข้อมูลเพื่อดูว่าจะให้ขุดเจาะได้ไหม โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 2-3 วัน สำหรับบ่อบาดาลที่เล็กกว่า 4 นิ้ว และใช้เวลาพิจารณา 14 วัน ถึง 1 เดือน สำหรับบ่อขนาด 4 นิ้วขึ้นไป
ช่างลงพื้นที่ขุดเจาะ – เมื่อได้รับการอนุญาตแล้ว ช่างขุดเจาะก็สามารถเข้าขุดเจาะน้ำบาดาลได้เลย ซึ่งระหว่างทำงานช่างจะต้องเก็บตัวอย่างชั้นดินและหินทุก ๆ ระดับความลึก 1 เมตร เพื่อทำ Report ส่งให้กับกรมน้ำบาดาล เพื่อเป็นข้อมูลด้านธรณีวิทยาของพื้นที่ และเพื่อป้องกันรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
เริ่มติดตั้ง ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล – เมื่อขุดเจาะเสร็จแล้ว ช่างจะติดตั้ง ปั๊มซับเมอร์ส หรือ ปั๊มน้ำบาดาล ลงในบ่อบาดาล เพื่อสูบน้ำทดสอบว่าในบ่อนี้มีปริมาณน้ำเท่าไหร่ ได้ปริมาณตามที่ต้องการของเจ้าของที่หรือไม่ ซึ่งจะมีกฎเกณฑ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนี้
หากสูบน้ำไว้ใช้สำหรับการทำเกษตร อุตสาหกรรมทั่วไป : ไม่จำเป็นต้องส่งตรวจตัวอย่างน้ำก็ได้ คุณสามารถใช้น้ำได้เลย
ตรวจสอบคุณภาพน้ำ – สำหรับเงื่อนไขแรกที่ต้องการใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค เมื่อได้รับผลตรวจจากกรมบาดาลแล้ว ก่อนนำไปใช้ผลิตน้ำดื่ม หรือใช้อุปโภคบริโภค จะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน เพื่อให้ได้น้ำที่บริสุทธิ์ ไม่มีสารพิษเจือปน และไม่เป็นกรดด่างจนเกินไป แค่นี้คุณก็จะได้บ่อน้ำบาดาลที่มีคุณภาพมาตรฐาน และปลอดภัยไว้ใช้งานแล้ว